พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญรุ่นแรก พ...
เหรียญรุ่นแรก พระครูโอภาสสารภูมิ(หลวงพ่อเถิง ) วัดสวนหมาก

ชื่อพระ
เหรียญรุ่นแรก พระครูโอภาสสารภูมิ(หลวงพ่อเถิง ) วัดสวนหมาก

หลวงพ่อ วัดสวนหมาก
ชาติภูมิพระครูโอภาสสารภูมิ นามเดิม คำเถิง เชื้อสามารถ เกิดเมื่อวันที่ 13มกราคม พ.ศ. 2444 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู ที่บ้านม่วง หมู่ที่ 8 ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นาง แหล้ เชื้อสามารถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด12คน ท่านเป็นคนที่9 บรรพชาอุปสมบทพ.ศ. 2463 บรรพชาเป็นสามเณรพ.ศ. 2464 ลาสิกขาพ.ศ. 2465 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดเจดีย์ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พระอธิการอินทร์ เป็นอุปัชฌาย์ พระคำมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระบุญมาเป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายา จนฺทโน คงจะแปลว่า ผู้งดงามดุจจันทร์ วัดที่ท่านเคยจำพรรษา พ.ศ.2465-2467 วัดหนองม่วง ต.คอนสารอ.คอนสาร จ.ชัยภูมิพ.ศ. 2468-2470 วัดสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ท่านได้ไปพักแลกเปลี่ยนวิชา ที่วัดบัวบาน บ้านบัวพักเกวียน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ กับสายวิชาท่านอาจารย์ใหญ่ผู้ทรงอภิญญานั่นคือ พระครูถาวรศีลวัตร มีศิษย์ร่วมสำนักคือ พระครูถาวรคีรีวัฒน์ วัดนครบาล พ.ศ. 2471-2476 วัดหนองม่วง ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ. ชัยภูมิพ.ศ. 2477-2525 วัดสวนหมาก(วัดดาวเรือง) อ.คอนสาร จ. ชัยภูมิ วิทยฐานะ พ.ศ. 2469 สอบได้นักธรรมชั้นตรีพ.ศ. 2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท งานปกครองพ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌาย์พ.ศ. 2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนหมากพ.ศ. 2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอคอนสาร สมณะศักดิ์พ.ศ. 2498เป็นพระครูโอภาสสารภูมิพ.ศ. 2519 เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก งานบริหารกิจกรรมพระศาสนา- ขอจัดตั้งสำนักศาสนศึกษาปริยัติธรรมขึ้นหลายสำนักในเขตอ.คอนสาร- เป็นพระธรรมทูตฝ่ายอำนวยการ อบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ประชาชน- เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการดำเนินการก่อสร้างศาสนสถานในเขต อ.คอนสาร สมณะวัตร พระครูโอภาสสารภูมิ เป็นพระมหาเถระที่มักน้อยสันโดษมีคุณธรรมประจำใจอันสูงส่ง ปราศจากความมักใหญ่ใฝ่สูง อุทิศเวลาและความสุขส่วนตนเพื่อพระศาสนาและสาธุชนทุกถ้วนหน้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ สงเคราะห์ อนุเคราะห์ เพื่อนมนุษย์ที่เข้าไปหาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆเลยได้ปฏิบัติศาสนกิจเสมอมาถึงแม้ว่าสังขารท่านจะร่วงโรยไปตามวัยก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าน ฉันเอกา โดยเคร่งครัดขนาดมีโยมเอาส้มเกลี้ยง(ส้มเขียวหวาน)มาให้ท่านในกุฏิ ท่านฉันเอกาแล้วจึงกลิ้งส้มเกลี้ยงกลับคืน ท่านทำตัวมีขันติเป็นตัวอย่างที่ดี วาระสุดท้าย ในช่วงเช้าของวันที่ 4 มกราคม 2525 พระภิกษุและสามเณรที่อุปัฏฐากท่าน ได้เข้าไปในห้องของท่าน แต่ปรากฏว่าท่านมรณภาพบนที่นอนของท่านด้วยอาการอันสงบ รวมศิริอายุได้ 81 พรรษามีปัจจัยในถุงย่ามท่านไม่ถึง20บาท ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน กำนันหาญมาช่วยยิงปืนบอกโยมตรงกลางชายคากุฏิปืนไม่ลั่น ต้องออกมายิงข้างต้นขนุนปัจจุบันยังมีอยู่ ต้นประคำดีควายที่หลวงพ่อผ่านไปบิณฑบาตรทางทิศใต้เฉาตายพร้อมๆงานพระราชทานเพลิงท่านดุจไว้อาลัยให้กับท่าน ต้นพิกุลที่อยู่ทิศตะวันตกเหมือนรอรับท่านมาจากบิณฑบาตรนั้น ยังส่งกลิ่นหอมให้ผู้ที่มาทำบุญดุจประกาศความดีของท่านให้ชนรุ่นหลังนึกถึงคุณงามความดีของท่านเสมอตราบนิจนิรันดร์ใต้ถุนศาลาที่ท่านบ้วนชานหมากเปรียบเหมือนท่านไม่ประมาทในกาลเวลา ยังเฝ้าดูลูกหลานอยู่เสมอ คอยปกปักรักษาผู้มาทำบุญที่วัดสวนหมาก ดังปณิธานเดิมที่ท่านช่วยคนในทางอ้อม แม้ท่านจะละสังขารจากพวกเราไปนานแล้วก็ตาม
วัตถุมงคล

เหรียญ

1.เหรียญรุ่นแรก เป็นรูปไข่ ผิววรรณะของเหรียญออกไปทางทองผสมมีกะไหล่ทองให้เห็นบ้างบางเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อห่มคลุมครึ่งองค์กำลังเคี้ยวหมากซึ่งเป็นมูลเหตุให้บางคนเรียกท่านว่า “หลวงพ่อปากเบี้ยว” มีคำเขียนล้อมครึ่งบนหลวงพ่อไว้ว่า “ พระครูโอภาสสารภูมิเจ้าคณะอำเภอคอนสาร ” ด้านหลังเป็นอักษรขอมเขียนเรียงเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่าง ถอดเป็นภาษาไทยใจความว่า “ อุ มะอะ อิสวา สุ นะโมพุท ธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” แถวที่ 6 เป็นภาษาไทย อ่านว่า “ วัดสวนหมาก” มูลเหตุในการสร้างเหรียญ เนื่องด้วยกุฏิไม้ที่ท่านอาศัยอยู่นทรุดโทรมมาก พระ 3 รูปที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคือ 1.พระอาจารย์บิน 2.พระ อาจารย์ตื้อ 3.พระมหาบุญเกิด( พ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ผู้ให้ข้อมูล)จึงปรึกษากันว่าจะทำเหรียญ แล้วนำรูปถ่ายไปเป็นต้นแบบโดยไปว่าจ้างช่างที่กรุงเทพ แถวเสาชิงช้า จำนวนที่สร้างราว 5,000 เหรียญ ปี ที่สร้างประมาณพ.ศ. 2505 แล้วนำมาให้หลวงพ่อแจกญาติโยม หลวงพ่อก็แจกอย่างเดียวโดยไม่สนใจปัจจัยสิ่งตอบแทนใดๆเลยทำให้เหรียญหมดลง โดยไม่มีปัจจัยที่จะมาบูรณะกุฏิเลย เมื่อหลวงพ่อเจอกับครูบุญเกิด ( พ่อมหาบุญเกิดลาสิกขาบทแล้ว มารับราชการครู)อีกครั้งก็บอกว่า “ เหมิดล่ะ ! ’’ หมายถึงเหรียญหมดแล้ว แล้วหลวงพ่อก็หัวเราะด้วยความเมตตาซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน

2. เหรียญรุ่นสอง เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ลคล้ายๆกะไหล่เงิน ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ล้อมรอบครึ่งบนหลวงพ่อด้วยคำที่เขียนว่า “ วัดสวนหมาก อ. คอนสาร จ.ชัยภูมิ ” ด้านล่างใต้องค์หลวงพ่อนั่งเขียนคำว่า “พระครูโอภาสสารภูมิ” ถัดลงไปอีก 1 แถวใต้สุดเป็นรูปลายกนกหัวชนกัน 1 คู่ในแนวนอน ด้านหลัง เป็นอักษรขอมเขียนเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่างถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” เหรียญรุ่นสองนี้หลวงพ่อเป็นคนบอกให้สร้างเองเนื่องจากเหรียญรุ่นแรกหมดไม่พอแจกกัน วัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้แจกอีกนั่นแหละ จำนวนที่สร้างนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลอ้างอิง สำหรับปีที่สร้างราวๆปี พ.ศ. 2510

ส่วนเหรียญรุ่นสร้างศาลารูปแบบคล้ายกับเหรียญรุ่นแรกแต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเพราะเป็นคน ละพิมพ์ อีกทั้งยังระบุไว้ในเหรียญด้านหน้าว่า “ รุ่นสร้างศาลา ” สร้างในสมัยพระอาจารย์ลื่นเป็นเจ้าอาวาสปลายปี 2538 ไม่ทันหลวงพ่อ ขอย้ำไม่ทันหลวงพ่อครับ ตอนสร้างเหรียญนี้ผู้เขียนยังรับราชการอยู่ที่คอนสาร

เครื่องรางของขลัง

หลวงพ่อได้สร้างเอาไว้มากมายเช่นตระกรุด ของทนสิทธิ์ต่างๆตามธรรมชาติเช่นงาแกะ เขากวางหด เขี้ยวหมูตัน ที่ชาวบ้านหามาให้ท่านปลุกเสกเนื่องจากคอนสารนั้นเป็นดินแดนป่าเขาลำเนาไพร ไกลปืนเที่ยงผู้คนหวังพึ่งพุทธคุณจากวัตถุมงคลเพื่อใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต และที่เด็ดสุดคือ คำหมาก หรือชานหมาก ของท่านใครมีไว้ ต่างหวงแหนยิ่งนัก เก็บไว้บูชาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งทีเดียว

เรื่องเล่าด้วยศรัทธาในตัวหลวงพ่อ

เรื่องเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาสมัยที่ยังทำงานในพื้นที่ คอนสารโปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน หวังว่าหากเกิดศรัทธาคงประกอบกรรมดี คิดดี ทำดี ตามอย่างแนวทางของหลวงพ่อ หาได้มอมเมาเรื่องวัตถุมงคลอันนำไปสู่อวิชชาความไม่รู้แก่นแท้แห่งธรรมจนกลายเป็นหลง งม งาย จนลืมกฎแห่งกรรม “ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ไม่

ฝนตกไม่เปียก

ครั้งนั้นมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของอำเภอได้รับคำสั่งโยกย้ายตามวิถีราชการ ชาวบ้าน ข้าราชการ

และหลวงพ่อก็ถูกนิมนต์ให้ร่วมขบวนไปส่งดัวย ระหว่างทางฝนตกหนัก รถติดหล่ม ทุกคนลงจากรถมาช่วยเข็น หลวงพ่อลงมายืนดูเพื่อเป็นกำลังใจ ท่ามกลางสายฝน สักพักพอรถขึ้นจากหล่มได้แล้ว ในขณะที่ทุกคนกลับไปขึ้นรถด้วยความเปียกปอนจากสายฝนถ้วนทั่วกันทุกคน มีสี่งหนึ่งที่ผิดปกติคือ ในขณะที่หลวงพ่อเดินผ่านหน้าทุกคนไปขึ้นรถนั้น จีวรของหลวงพ่อรวมทั้งตัวของหลวงพ่อเอง หาได้เปียกฝนแม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้นท่านยังได้สลัดจีวรของท่านเพื่อไม่ให้เป็นจุดสนใจพร้อมกับพูดอย่างยิ้มๆเป็นภาษาคอนสารว่า “ เปี๊ยกคือกันน๊ะ !”ทั้งที่ตัวท่านไม่เปียกเลยแม้แต่น้อย

ย่นระยะทาง

หลวงพ่อกับพระลูกวัดได้รับกิจนิมนต์ที่อำเภอภูเขียว หนทางในสมัยนั้นเป็นป่าเป็นดงใช้เวลาเดินทางเป็นวันต่างจากปัจจุบันประมาณ 30 นาทีโดยรถยนต์ ท่านได้ให้พระเณรเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนตัวท่านนั้นยังนั่งคุยอยู่กับญาติโยมที่วัด เมื่อคณะเดินทางไปถึงที่หมายก็พบว่า หลวงพ่อมาถึงและนั่งรออยู่ก่อนแล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความแปลกใจให้กับคณะเป็นยิ่งนัก เมื่อกลับมาถึงวัดบรรดาพระเณรได้เพียรถามหลวงพ่ออยู่หลายครั้งแต่หลวงพ่อก็ไม่ตอบว่ากระไร

ล่องหน

มีอยู่ครั้งหนึ่งมีการพิสูจน์อะไรซักอย่าง คล้ายๆจะเป็นการลองวิชา ท่านกับพระเกจิอีกอีก 1รูปอยู่ในโบสถ์แล้วปิดประตูหน้าต่างลงกลอนลั่นดารทั้งหมด ก่อนเข้าไปท่านได้สั่งให้คนเฝ้าประตูหน้าต่างอยู่นอกโบสถ์ทั้งสี่ด้าน พอเวลาผ่านซักไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าเห็นท่านพร้อมเกจิรูปนั้นออกมาอยู่ด้านนอกโบสถ์แล้ว โดยทุกคนที่เฝ้าอยู่ก็ไม่รู้ว่าท่านออกมาได้อย่างไร ทางไหน เมื่อไหร่ ทั้งที่ประตู หน้าต่างของโบสถ์ก็ยังปิดสนิทอยู่ดังเดิม

สหธรรมิก

หลวงพ่อมีสหธรรมิกอยู่หลายรูปและที่สำคัญมีอยู่รูปหนึ่งคือ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เนื่องจากคอนสารติดกับเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ทางด้านอำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาวซึ่งไม่ไกลจากอำเภอชนแดนมากนัก ประสบการณ์จากวัตถุมงคล

หลายคนที่มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อบูชาติดตัวต่างประสบพบเห็น มีประสบการณ์ต่างๆนานา มากมายไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณงามความดี ศิลธรรม กรรมเวร กรรมหนักกรรมเบา ของแต่ละบุคคลประกอบกันไป บางรายก็ผ่อนหนักเป็นเบา เช่นหลายๆรายมีเหรียญรุ่น 1 ถูกยิงแล้วไม่เข้า ถูกฟันไม่เข้าบ้าง ห้อยเหรียญรุ่น 2 แล้วโดนฟ้าผ่าแล้วไม่เป็นไร บูชาพระของหลวงพ่อแล้ว ค้าขายดีมีกำไร บ้าง เรื่องราวเล่านี้ถูกถ่ายทอดปากต่อปากทำให้ของของท่านเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้คนจำนวนมากและโด่งดังเงียบๆมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งๆที่ผ่านมาเรื่องราวของท่านไม่ได้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆเลยนอกจากหนังสืออนุสรณ์วันพระราชทานเพลิงศพเพียงเท่านั้นเอง

สำหรับที่มาของวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น คุณพ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ได้กรุณาให้ข้อสังเกตไว้ว่า นอกจาก ตำรับตำราจากสมุดข่อยโบราณ หนังสือใบลานเก่าของชาวคอนสารแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนวิชาจากสหธรรมิก และสายวิชาจากโคราชเมื่อครั้งเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสีคิ้วเมื่อครั้งปี พ.ศ .2468- พ.ศ.2470
ผู้เข้าชม
1560 ครั้ง
ราคา
8000
สถานะ
ยังอยู่
ชื่อร้าน
โจ คอนสาร
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
jokonsan888
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
น้ำตาลแดงsomemanswatlordtermboonsomphop
เปียโนแมวดำ99นานาfuchoo18sirikornภูมิ IR
chaithawatกรัญระยองChobdoysata ep8600kaew กจ.vanglanna
เจริญสุขvaravetlynnhoppermanบี บุรีรัมย์บ้านพระสมเด็จ
naputจ่าดี พระกรุอ้วนโนนสูงโกหมูโจ๊ก ป่าแดงมนต์เมืองจันท์

ผู้เข้าชมขณะนี้ 581 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญรุ่นแรก พระครูโอภาสสารภูมิ(หลวงพ่อเถิง ) วัดสวนหมาก



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญรุ่นแรก พระครูโอภาสสารภูมิ(หลวงพ่อเถิง ) วัดสวนหมาก
รายละเอียด

ชื่อพระ
เหรียญรุ่นแรก พระครูโอภาสสารภูมิ(หลวงพ่อเถิง ) วัดสวนหมาก

หลวงพ่อ วัดสวนหมาก
ชาติภูมิพระครูโอภาสสารภูมิ นามเดิม คำเถิง เชื้อสามารถ เกิดเมื่อวันที่ 13มกราคม พ.ศ. 2444 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู ที่บ้านม่วง หมู่ที่ 8 ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นาง แหล้ เชื้อสามารถ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด12คน ท่านเป็นคนที่9 บรรพชาอุปสมบทพ.ศ. 2463 บรรพชาเป็นสามเณรพ.ศ. 2464 ลาสิกขาพ.ศ. 2465 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดเจดีย์ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พระอธิการอินทร์ เป็นอุปัชฌาย์ พระคำมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระบุญมาเป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายา จนฺทโน คงจะแปลว่า ผู้งดงามดุจจันทร์ วัดที่ท่านเคยจำพรรษา พ.ศ.2465-2467 วัดหนองม่วง ต.คอนสารอ.คอนสาร จ.ชัยภูมิพ.ศ. 2468-2470 วัดสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ท่านได้ไปพักแลกเปลี่ยนวิชา ที่วัดบัวบาน บ้านบัวพักเกวียน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ กับสายวิชาท่านอาจารย์ใหญ่ผู้ทรงอภิญญานั่นคือ พระครูถาวรศีลวัตร มีศิษย์ร่วมสำนักคือ พระครูถาวรคีรีวัฒน์ วัดนครบาล พ.ศ. 2471-2476 วัดหนองม่วง ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ. ชัยภูมิพ.ศ. 2477-2525 วัดสวนหมาก(วัดดาวเรือง) อ.คอนสาร จ. ชัยภูมิ วิทยฐานะ พ.ศ. 2469 สอบได้นักธรรมชั้นตรีพ.ศ. 2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท งานปกครองพ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌาย์พ.ศ. 2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนหมากพ.ศ. 2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอคอนสาร สมณะศักดิ์พ.ศ. 2498เป็นพระครูโอภาสสารภูมิพ.ศ. 2519 เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก งานบริหารกิจกรรมพระศาสนา- ขอจัดตั้งสำนักศาสนศึกษาปริยัติธรรมขึ้นหลายสำนักในเขตอ.คอนสาร- เป็นพระธรรมทูตฝ่ายอำนวยการ อบรมศีลธรรมและวัฒนธรรมแก่ประชาชน- เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการดำเนินการก่อสร้างศาสนสถานในเขต อ.คอนสาร สมณะวัตร พระครูโอภาสสารภูมิ เป็นพระมหาเถระที่มักน้อยสันโดษมีคุณธรรมประจำใจอันสูงส่ง ปราศจากความมักใหญ่ใฝ่สูง อุทิศเวลาและความสุขส่วนตนเพื่อพระศาสนาและสาธุชนทุกถ้วนหน้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ สงเคราะห์ อนุเคราะห์ เพื่อนมนุษย์ที่เข้าไปหาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆเลยได้ปฏิบัติศาสนกิจเสมอมาถึงแม้ว่าสังขารท่านจะร่วงโรยไปตามวัยก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าน ฉันเอกา โดยเคร่งครัดขนาดมีโยมเอาส้มเกลี้ยง(ส้มเขียวหวาน)มาให้ท่านในกุฏิ ท่านฉันเอกาแล้วจึงกลิ้งส้มเกลี้ยงกลับคืน ท่านทำตัวมีขันติเป็นตัวอย่างที่ดี วาระสุดท้าย ในช่วงเช้าของวันที่ 4 มกราคม 2525 พระภิกษุและสามเณรที่อุปัฏฐากท่าน ได้เข้าไปในห้องของท่าน แต่ปรากฏว่าท่านมรณภาพบนที่นอนของท่านด้วยอาการอันสงบ รวมศิริอายุได้ 81 พรรษามีปัจจัยในถุงย่ามท่านไม่ถึง20บาท ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน กำนันหาญมาช่วยยิงปืนบอกโยมตรงกลางชายคากุฏิปืนไม่ลั่น ต้องออกมายิงข้างต้นขนุนปัจจุบันยังมีอยู่ ต้นประคำดีควายที่หลวงพ่อผ่านไปบิณฑบาตรทางทิศใต้เฉาตายพร้อมๆงานพระราชทานเพลิงท่านดุจไว้อาลัยให้กับท่าน ต้นพิกุลที่อยู่ทิศตะวันตกเหมือนรอรับท่านมาจากบิณฑบาตรนั้น ยังส่งกลิ่นหอมให้ผู้ที่มาทำบุญดุจประกาศความดีของท่านให้ชนรุ่นหลังนึกถึงคุณงามความดีของท่านเสมอตราบนิจนิรันดร์ใต้ถุนศาลาที่ท่านบ้วนชานหมากเปรียบเหมือนท่านไม่ประมาทในกาลเวลา ยังเฝ้าดูลูกหลานอยู่เสมอ คอยปกปักรักษาผู้มาทำบุญที่วัดสวนหมาก ดังปณิธานเดิมที่ท่านช่วยคนในทางอ้อม แม้ท่านจะละสังขารจากพวกเราไปนานแล้วก็ตาม
วัตถุมงคล

เหรียญ

1.เหรียญรุ่นแรก เป็นรูปไข่ ผิววรรณะของเหรียญออกไปทางทองผสมมีกะไหล่ทองให้เห็นบ้างบางเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อห่มคลุมครึ่งองค์กำลังเคี้ยวหมากซึ่งเป็นมูลเหตุให้บางคนเรียกท่านว่า “หลวงพ่อปากเบี้ยว” มีคำเขียนล้อมครึ่งบนหลวงพ่อไว้ว่า “ พระครูโอภาสสารภูมิเจ้าคณะอำเภอคอนสาร ” ด้านหลังเป็นอักษรขอมเขียนเรียงเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่าง ถอดเป็นภาษาไทยใจความว่า “ อุ มะอะ อิสวา สุ นะโมพุท ธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” แถวที่ 6 เป็นภาษาไทย อ่านว่า “ วัดสวนหมาก” มูลเหตุในการสร้างเหรียญ เนื่องด้วยกุฏิไม้ที่ท่านอาศัยอยู่นทรุดโทรมมาก พระ 3 รูปที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคือ 1.พระอาจารย์บิน 2.พระ อาจารย์ตื้อ 3.พระมหาบุญเกิด( พ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ผู้ให้ข้อมูล)จึงปรึกษากันว่าจะทำเหรียญ แล้วนำรูปถ่ายไปเป็นต้นแบบโดยไปว่าจ้างช่างที่กรุงเทพ แถวเสาชิงช้า จำนวนที่สร้างราว 5,000 เหรียญ ปี ที่สร้างประมาณพ.ศ. 2505 แล้วนำมาให้หลวงพ่อแจกญาติโยม หลวงพ่อก็แจกอย่างเดียวโดยไม่สนใจปัจจัยสิ่งตอบแทนใดๆเลยทำให้เหรียญหมดลง โดยไม่มีปัจจัยที่จะมาบูรณะกุฏิเลย เมื่อหลวงพ่อเจอกับครูบุญเกิด ( พ่อมหาบุญเกิดลาสิกขาบทแล้ว มารับราชการครู)อีกครั้งก็บอกว่า “ เหมิดล่ะ ! ’’ หมายถึงเหรียญหมดแล้ว แล้วหลวงพ่อก็หัวเราะด้วยความเมตตาซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน

2. เหรียญรุ่นสอง เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ลคล้ายๆกะไหล่เงิน ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ล้อมรอบครึ่งบนหลวงพ่อด้วยคำที่เขียนว่า “ วัดสวนหมาก อ. คอนสาร จ.ชัยภูมิ ” ด้านล่างใต้องค์หลวงพ่อนั่งเขียนคำว่า “พระครูโอภาสสารภูมิ” ถัดลงไปอีก 1 แถวใต้สุดเป็นรูปลายกนกหัวชนกัน 1 คู่ในแนวนอน ด้านหลัง เป็นอักษรขอมเขียนเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่างถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” เหรียญรุ่นสองนี้หลวงพ่อเป็นคนบอกให้สร้างเองเนื่องจากเหรียญรุ่นแรกหมดไม่พอแจกกัน วัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้แจกอีกนั่นแหละ จำนวนที่สร้างนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลอ้างอิง สำหรับปีที่สร้างราวๆปี พ.ศ. 2510

ส่วนเหรียญรุ่นสร้างศาลารูปแบบคล้ายกับเหรียญรุ่นแรกแต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเพราะเป็นคน ละพิมพ์ อีกทั้งยังระบุไว้ในเหรียญด้านหน้าว่า “ รุ่นสร้างศาลา ” สร้างในสมัยพระอาจารย์ลื่นเป็นเจ้าอาวาสปลายปี 2538 ไม่ทันหลวงพ่อ ขอย้ำไม่ทันหลวงพ่อครับ ตอนสร้างเหรียญนี้ผู้เขียนยังรับราชการอยู่ที่คอนสาร

เครื่องรางของขลัง

หลวงพ่อได้สร้างเอาไว้มากมายเช่นตระกรุด ของทนสิทธิ์ต่างๆตามธรรมชาติเช่นงาแกะ เขากวางหด เขี้ยวหมูตัน ที่ชาวบ้านหามาให้ท่านปลุกเสกเนื่องจากคอนสารนั้นเป็นดินแดนป่าเขาลำเนาไพร ไกลปืนเที่ยงผู้คนหวังพึ่งพุทธคุณจากวัตถุมงคลเพื่อใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต และที่เด็ดสุดคือ คำหมาก หรือชานหมาก ของท่านใครมีไว้ ต่างหวงแหนยิ่งนัก เก็บไว้บูชาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งทีเดียว

เรื่องเล่าด้วยศรัทธาในตัวหลวงพ่อ

เรื่องเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาสมัยที่ยังทำงานในพื้นที่ คอนสารโปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน หวังว่าหากเกิดศรัทธาคงประกอบกรรมดี คิดดี ทำดี ตามอย่างแนวทางของหลวงพ่อ หาได้มอมเมาเรื่องวัตถุมงคลอันนำไปสู่อวิชชาความไม่รู้แก่นแท้แห่งธรรมจนกลายเป็นหลง งม งาย จนลืมกฎแห่งกรรม “ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ไม่

ฝนตกไม่เปียก

ครั้งนั้นมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของอำเภอได้รับคำสั่งโยกย้ายตามวิถีราชการ ชาวบ้าน ข้าราชการ

และหลวงพ่อก็ถูกนิมนต์ให้ร่วมขบวนไปส่งดัวย ระหว่างทางฝนตกหนัก รถติดหล่ม ทุกคนลงจากรถมาช่วยเข็น หลวงพ่อลงมายืนดูเพื่อเป็นกำลังใจ ท่ามกลางสายฝน สักพักพอรถขึ้นจากหล่มได้แล้ว ในขณะที่ทุกคนกลับไปขึ้นรถด้วยความเปียกปอนจากสายฝนถ้วนทั่วกันทุกคน มีสี่งหนึ่งที่ผิดปกติคือ ในขณะที่หลวงพ่อเดินผ่านหน้าทุกคนไปขึ้นรถนั้น จีวรของหลวงพ่อรวมทั้งตัวของหลวงพ่อเอง หาได้เปียกฝนแม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้นท่านยังได้สลัดจีวรของท่านเพื่อไม่ให้เป็นจุดสนใจพร้อมกับพูดอย่างยิ้มๆเป็นภาษาคอนสารว่า “ เปี๊ยกคือกันน๊ะ !”ทั้งที่ตัวท่านไม่เปียกเลยแม้แต่น้อย

ย่นระยะทาง

หลวงพ่อกับพระลูกวัดได้รับกิจนิมนต์ที่อำเภอภูเขียว หนทางในสมัยนั้นเป็นป่าเป็นดงใช้เวลาเดินทางเป็นวันต่างจากปัจจุบันประมาณ 30 นาทีโดยรถยนต์ ท่านได้ให้พระเณรเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนตัวท่านนั้นยังนั่งคุยอยู่กับญาติโยมที่วัด เมื่อคณะเดินทางไปถึงที่หมายก็พบว่า หลวงพ่อมาถึงและนั่งรออยู่ก่อนแล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความแปลกใจให้กับคณะเป็นยิ่งนัก เมื่อกลับมาถึงวัดบรรดาพระเณรได้เพียรถามหลวงพ่ออยู่หลายครั้งแต่หลวงพ่อก็ไม่ตอบว่ากระไร

ล่องหน

มีอยู่ครั้งหนึ่งมีการพิสูจน์อะไรซักอย่าง คล้ายๆจะเป็นการลองวิชา ท่านกับพระเกจิอีกอีก 1รูปอยู่ในโบสถ์แล้วปิดประตูหน้าต่างลงกลอนลั่นดารทั้งหมด ก่อนเข้าไปท่านได้สั่งให้คนเฝ้าประตูหน้าต่างอยู่นอกโบสถ์ทั้งสี่ด้าน พอเวลาผ่านซักไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าเห็นท่านพร้อมเกจิรูปนั้นออกมาอยู่ด้านนอกโบสถ์แล้ว โดยทุกคนที่เฝ้าอยู่ก็ไม่รู้ว่าท่านออกมาได้อย่างไร ทางไหน เมื่อไหร่ ทั้งที่ประตู หน้าต่างของโบสถ์ก็ยังปิดสนิทอยู่ดังเดิม

สหธรรมิก

หลวงพ่อมีสหธรรมิกอยู่หลายรูปและที่สำคัญมีอยู่รูปหนึ่งคือ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เนื่องจากคอนสารติดกับเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ทางด้านอำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาวซึ่งไม่ไกลจากอำเภอชนแดนมากนัก ประสบการณ์จากวัตถุมงคล

หลายคนที่มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อบูชาติดตัวต่างประสบพบเห็น มีประสบการณ์ต่างๆนานา มากมายไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณงามความดี ศิลธรรม กรรมเวร กรรมหนักกรรมเบา ของแต่ละบุคคลประกอบกันไป บางรายก็ผ่อนหนักเป็นเบา เช่นหลายๆรายมีเหรียญรุ่น 1 ถูกยิงแล้วไม่เข้า ถูกฟันไม่เข้าบ้าง ห้อยเหรียญรุ่น 2 แล้วโดนฟ้าผ่าแล้วไม่เป็นไร บูชาพระของหลวงพ่อแล้ว ค้าขายดีมีกำไร บ้าง เรื่องราวเล่านี้ถูกถ่ายทอดปากต่อปากทำให้ของของท่านเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้คนจำนวนมากและโด่งดังเงียบๆมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งๆที่ผ่านมาเรื่องราวของท่านไม่ได้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆเลยนอกจากหนังสืออนุสรณ์วันพระราชทานเพลิงศพเพียงเท่านั้นเอง

สำหรับที่มาของวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น คุณพ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ได้กรุณาให้ข้อสังเกตไว้ว่า นอกจาก ตำรับตำราจากสมุดข่อยโบราณ หนังสือใบลานเก่าของชาวคอนสารแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนวิชาจากสหธรรมิก และสายวิชาจากโคราชเมื่อครั้งเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสีคิ้วเมื่อครั้งปี พ.ศ .2468- พ.ศ.2470
ราคาปัจจุบัน
8000
จำนวนผู้เข้าชม
1561 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
โจ คอนสาร
URL
เบอร์โทรศัพท์
0806698987
ID LINE
jokonsan888
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี